ว่ากันว่าไทยเราเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างมาก เห็นได้จากการค้นพบพืชหรือสัตว์สายพันธุ์ใหม่ๆ หลากหลายสายพันธุ์ในช่วงที่ผ่านมา
ล่าสุด รศ.ดร.สุรพล แสนสุข นักวิจัยสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช และ ผศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข นักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบพืชตระกูลขิงชนิดใหม่ของโลก 8 ชนิด ประกอบด้วย
1.ขมิ้นน้อย หรือ “Khami-Noi” ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma chantaranothaii Boonma & Saensouk พบในป่า จ.นครนายก และมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศ
2.กระเจียวรังสิมา หรือ “Krachiao Rangsima” หรือ “บุษราคัม Bussarakham” ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma rangsimae Boonma & Saensouk พบใน จ.นครนายก สระบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา
3.ขมิ้นพวงเพ็ญ หรือ “Khamin-Puangpen” ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma puangpeniae Boonma & Saensouk อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวกขมิ้นหรือกระเจียว พบที่ จ.ราชบุรี
4.กระเจียวจรัญ หรือ “Krachiao Charan” มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma charanii Boonma & Saensouk อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวกขมิ้นหรือกระเจียว พืชชนิดนี้พบที่จังหวัดลพบุรี
5.พญาว่าน หรือ “Phraya Wan” ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma phrayawan Boonma & Saensouk พบที่ จ.นครนายก และปลูกเป็นพืชสมุนไพรทั่วไทย
6.กระเจียวม่วง หรือ “อเมทิสต์” ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma pur-purata Boonma & Saensouk พบที่ จ.ศรีสะเกษ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
7.นิลกาฬ หรือ Nillakan ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia nigrifolia Boonma & Saensouk ตั้งชื่อตามลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีสีดำ พบทางภาคกลางของประเทศไทย
8.ว่านกระชายดำเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia pseudoparviflora Saensouk and P. Saensouk ลักษณะเด่นของพืชคือ ใบมีใบเดียว ก้านช่อดอกสั้น และช่อดอกอัดแน่น พบทางภาคเหนือ
และอีก 1 ชนิด ที่ค้นพบครั้งแรกใน สปป.ลาว แต่เพิ่งค้นพบครั้งแรกในไทย ที่ จ.อุตรดิตถ์ คือ ว่านหัวน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma peramoena Souvann.& Maknoi.
สะ-เล-เต