วันนี้ (12 ส.ค.) เครือข่ายนักกฎหมายและคณาจารย์นิติศาสตร์ 111 คน ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอประณามการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการชุมนุมของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
“ภายหลังจากที่มีการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามต่อประชาชนอย่างอุกอาจ และการดำเนินการที่เกิดขึ้นมิได้เป็นไปตามหลักการอันเป็นที่ยอมรับกันในอารยะประเทศ ซึ่งล้วนแต่กำหนดให้ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จะสามารถกระทำได้ก็ต้องใช้ความระมัดระวัง การเลือกใช้มาตรการต่างๆ ก็ต้องเป็นไปโดยอยู่ภายใต้หลักแห่งความได้สัดส่วนและภายใต้หลักความจำเป็น
ทั้งนี้ ในการชุมนุมสาธารณะเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม และวันที่ 10 สิงหาคม จะพบว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มุ่งใช้กำลังและความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการจัดการกับผู้ชุมนุมโดยมิได้เป็นไปตามหลักการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น การยิงกระสุนยางจากพื้นที่สูง การยิงโดยมุ่งเข้าใส่ตัวบุคคล การยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปในที่ชุมนุมและพื้นที่ของชุมชนโดยไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้คน การยั่วยุผู้ชุมนุมให้เกิดความโกรธแค้น เป็นต้น
เป็นที่ยอมรับกันว่าการชุมนุมสาธารณะอาจเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดการละเมิดต่อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายจราจร กฎหมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องเสียง การเผาสิ่งของในที่สาธารณะ กระทั่งการฝ่าฝืนกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ ฯลฯ แม้ผู้เข้าร่วมการชุมนุมจะมีการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าว แต่การกระทำผิดต่อกฎหมายเหล่านี้ก็ไม่เป็นเหตุผลสำคัญที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ความรุนแรงต่อประชาชนเพื่อเป็นการตอบโต้ได้ตามอำเภอใจ
เจ้าหน้าที่ตำรวจคือบุคคลที่ทำหน้าที่ในฐานะของกลไกของรัฐประเภทหนึ่ง หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อเกิดการกระทำอันเป็นความผิดต่อกฎหมายขึ้นก็คือการดำเนินการจัดการกับปัญหาภายใต้กรอบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมิใช่คู่ความขัดแย้งโดยตรงกับประชาชนในการปฏิบัติตามหน้าที่ หากเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐจึงย่อมกระทำการอย่างระมัดระวัง หากจะมีการใช้กำลังหรืออาวุธก็ต้องเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นมาตรการขั้นสุดท้าย หรือเป็นไปเพื่อป้องกันตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นการเคลื่อนไหวของประชาชนในประเด็นปัญหาทางการเมืองดังที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาปัจจุบัน ข้อเรียกร้องเป็นความต้องการให้มีความเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเมืองในเชิงโครงสร้าง การชุมนุมสาธารณะคือสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ได้รับการยอมรับและบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ ในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควรต้องกระทำด้วยการตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนควบคู่กันไปอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง
แต่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าในการรับมือกับการชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์วันที่ 7 และวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีปฏิบัติการซึ่งละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างสำคัญ พวกเราจึงมีความเห็นต่อสถานการณ์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้
หนึ่ง ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงาน โดยต้องดำเนินการในทุกวิถีทางไม่ให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
สอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อทำการสอบสวนค้นหาข้อเท็จจริง เฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีส่วนต่อการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามประชาชนเพื่อนำมาสู่การลงโทษในกรณีที่ได้มีการใช้อำนาจและปฏิบัติการที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งในส่วนของผู้บังคับบัญชาและในส่วนของระดับปฏิบัติงาน
หากสังคมปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังคงสามารถใช้ความรุนแรงในการปราบปรามประชาชนตามอำเภอใจโดยไม่ต้องมีความรับผิดใดๆ เกิดขึ้น ก็จะทำให้การกระทำดังกล่าวกลายเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถเกิดขึ้นได้ต่อไปอีกในอนาคต การใช้ความรุนแรงในลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่งในห้วงเวลาปัจจุบัน เพราะจะเป็นการยอมรับให้รัฐไทยกลายเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือชีวิตและเสรีภาพของประชาชน อันเป็นสิ่งที่ขัดกับอุดมคติของการปกครองด้วยกฎหมายในสังคมไทยและในโลกปัจจุบัน
ด้วยความยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพและระบอบประชาธิปไตย
12 สิงหาคม 2564
รายชื่อบุคคลที่ร่วมลงนาม
1. กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. กฤษฎากร ว่องวุฒิกถล อาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
3. กฤษณ์พชร โสมณวัตร อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. กษมน โตรื่น นักกฎหมาย สำนักงานกฎหมายเอกชน
5. กิตติศักดิ์ กองทอง นักกฎหมาย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
6. กรกนก วัฒนภูมิ นักกฎหมาย อิสระ
7. กุณฑิกา นุตจรัส ทนายความ สำนักงานกฎหมายและบัญชีกฤษฎางค์ นุตจรัส
8. ขรรค์เพชร ชายทวีป อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
9. เขมชาติ ตนบุญ นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10. คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
11. คอรีเยาะ มานุแช ทนายความ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
12. จารุนันท์ น้าประทานสุข ทนายความ อิสระ
13. จิดาภา คงวัฒนกุล ทนายความ อิสระ
14. จิรประภา ฉิมเรือง นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
15. จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
16. จีรศักด์ ขันทะเสน นักกฎหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
17. เฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
18. ชยากร แจ้งพันธุ์ ทนายความ อิสระ
19. ชยุตพงษ์ ผไทวณิชย์ ทนายความ บริษัท กุดั่น แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด
20. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21. ณัฐดนัย จิตต์จำนงค์ นักกฎหมาย
22. ณัฐวุฒิ คล้ายขำ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
23. ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน
24. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
25. ดามร คำไตรย์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
26. Denpong Pitthayamaythakul Attorney Bournemouth University
27. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
29. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
30. ทิตศาสตร์ สุดแสน ทนายความ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
31. ทิพสุดา ญาณาภิรัต อาจารย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
32. เทิดเกียรติ รุจิราวรรณกร ทนายความ บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบิ้นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
33. ธวัช ดำสะอาด นักกฎหมาย –
34. ธวัชชัย ป้องศรี อาจารย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
35. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
36. ธรธรร การมั่งมี นักกฎหมาย อิสระ
37. นพดล เดชสมบูรณ์รัตน์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. นพรัช ตั้งวรรณวิบูลย์ นักกฎหมาย เอกชน
39. นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
40. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยาอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41. นัทมน คงเจริญ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
42. นาฏนภัส เหล็กเพ็ชร อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43. วีระพงศ์ ศรีวงค์สงวน ทนายความ ทนายความ
44. นิฐิณี ทองแท้ นักวิชาการ นักวิชาการอิสระ
45. นิธิศ บุณยัษเฐียร นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
46. บงกช ดารารัตน์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
47. บัณฑิต หอมเกษ นักกฎหมาย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
48. เบญจรงค์ รุ่งมณีกุล ทนายความ –
49. ปณิธาน พุ่มบ้านยาง เจ้าหน้าที่กฎหมาย International Rescue Committee
50. ปรีดา ทองชุมนุม นักกฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชน
51. ปสุตา ชื้นขจร ทนายความ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
52. ปารณ บุญช่วย นักวิชาการ อิสระ
53. ปิติพงษ์ นิโรจน์ ทนายความ อิสระ
54. เปรมสิริ เจริญผล นักกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
55. ผจญ คงเมือง อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
56. พงษ์พันธ์ บุปเก อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
57. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
58. พรพิมล มุกขุนทด ทนายความ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
59. พรวิเศษ พรรัตนอนันต์ ทนายความ ทนายความอิสระ
60. พัชราภรณ์ ตฤณวุฒิพงษ์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
61. พัลลภ รุ่งมิตรจรัสแสง ทนายความ สำนักงานทนายความจรัสแสง
62. พิฆเนศ ประวัง ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
63. พิมพร สุทะเงิน นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
64. พิมพา สุทะเงิน นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
65. พิทักษ์ ธรรมะ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
66. ภาณุวัฒน์ ปานแก้ว อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
67. ภีชญา จงอุดมการณ์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
68. ภาสกร ญี่นาง นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
69. มณฑิรา เตียประเสริฐ แก้วตา อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
70. มาริสา ปิดสายะ ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
71. มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
72. ยอดพล เทพสิทธา อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
73. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
74. ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
75. รัชกฤช หรุ่นโพธิ์ ทนายความ –
76. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
77. เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ทนายความ ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน
78. วรกรต ไทยลี่ ทนายความ อิสระ
79. วรณัฐ บุญเจริญ นักวิชาการ –
80. วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ นักสิทธิมนุษยชน กลุ่มนอนไบนารีแห่งประเทศไทย
81. วรรณา แต้มทอง นักวิจัยด้านกฎหมายกับสังคม อิสระ
82. วรวุธ ตามี่ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
83. วรินทรา ศรีวิชัย ทนายความ สำนักงานกฎหมาย วรินทรา ทนายความ
84. วริยา เทพภูเวียง ทนายความ –
85. วริษา องสุพันธ์กุล อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
86. วศิน นาอ้น ทนายความ –
87. วัชรพล ศิริ นักกฎหมาย/นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88. วัชรินทร์ แสงสัก ทนายความ สำนักกฎหมายและธุรกิจ บีเอสเอส
89. วัชลาวลี คำบุญเรือง นักวิชาการ –
90. วิชุดา พงศาปาน นักกฎหมาย ONE LAW Office Limited
91. วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ
92. วีระพงศ์ ศรีวงค์สงวน ทนายความ ทนายความ
93. ศรัณย์ จงรักษ์ อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
94. ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. ศุภณัฐ บุญสด ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
96. โศภิต ชีวะพานิชย์ อาจารย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
97. สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
98. ส. รัตนมณี พลกล้า ทนายความ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
99. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
100. สริตา พฤกษอรุณ ที่ปรึกษากฎหมาย –
101. สัญญา เอียดจงดี ทนายความ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
102. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
103. สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ สำนักงานชัยธรรมทนายความ
104. สุรชัย ตรงงาม ทนายความ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
105. สุรพี โพธิสาราช นักวิชาการ –
106. สุรินรัตน์ แก้วทอง อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
107. สุพรรณ สาคร ทนายความ สำนักงานนายสุพรรณ สาครและเพื่อน
108. อจิรวดี เหลาอ่อน อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
109. อำนาจ ตั้งคีรีพิมาน อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
110. เอกตะวัน อนุยะโต นิติกร บริษัทเอกชน
111. อนุชา วินทะไชย ผู้ปฎิบัติงาน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน