ตนเองก้าวมาสู่ในยุคการเมืองท้องถิ่นยุคใหม่ ของคนรุ่นใหม่ จะมีการทำงานโดยมีวิสัยทัสน์หลายๆด้านเพื่อพัฒนาเมืองมหาสารคาม เนื่องจากเทศบาลเมืองมหาสารคามมี 30 ชุมชน มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
พุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.38 น.
นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม ผู้สมัครหมายเลข 4 เปิดเผยว่า ตนเองก้าวมาสู่ในยุคการเมืองท้องถิ่นยุคใหม่ ของคนรุ่นใหม่ จะมีการทำงานโดยมีวิสัยทัสน์หลายๆ ด้าน เพื่อพัฒนาเมืองมหาสารคาม เนื่องจากเทศบาลเมืองมหาสารคามมี 30 ชุมชน มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตนเองได้มองว่าการเมืองท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญมาก ที่จะทำให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในทุกมิติและเจริญรุ่งเรือง โดยการทำงานให้มีความสำเร็จได้ อปท. จะต้องเป็นตัวกลางให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน โดยยึดปัญหาและการแก้ไขปัญหาของชุมชนเป็นหลัก โดยให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพ่อแม่พี่น้องในเขตเทศบาลเมือง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะต้องนำพาให้ชุมชนและเทศบาลเมือง ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในโลกปัจจุบัน
ปัญหาสำคัญในอันดับต้น ๆ คือ ปัญหาชีวิตและปากท้องและเศรษฐกิจในยามวิกฤติของโรคระบาด ถือว่าเป็นโจทย์ใหญ่ในการที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ให้กับชุมชนเป็นอันดับแรก อาจจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนเทศบาลเมืองมหาสารคามและหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในเมืองมหาสารคาม จะทำให้เมืองแห่งความสุขและเป็นเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร
สิ่งที่จะต้องพัฒนาและสร้างจุดแข็งให้กับเมืองมหาสารคาม คือ คลองสมถวิลและห้วยคะคาง
เมืองมหาสารคามไม่มีแหล่งท่องเที่ยว ทะเล ภูเขา ป่าไม้ ทำให้เราต้องมาปรับปรุงสิ่งที่เป็นจุดแข็ง ถ้าไม่มีก็ต้องสร้างขึ้นมาเพิ่ม เพื่อให้ผู้คนรู้จักมหาสารมาคมากยิ่งขึ้น ซึ่งคลองสมถวิลและลำห้วยคะคางที่พาดผ่านเทศบาลเมืองมหาสารคามคือจุดแข็งของเมือง โดยลำห้วยคะคาง เราจะต้องปรับปรุงภูมิทัศน์ในลักษณะสวนสาธารณะ และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้หลายอย่าง ใช้ในกิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เช่น ตลาดน้ำ, ด้านการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางนั่งเรือชมเมือง, ด้านกีฬา เช่น เส้นทางออกกำลังกาย หรือ จัดงานประเพณีแข่งเรือ และ ด้านวัฒนธรรม-ประเพณี เช่น ตักบาตร ไหลเรือไฟ ลอยกระทง การละเล่นพื้นบ้านในชุมชนเกี่ยวกับน้ำ และเพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน, การพัฒนาพื้นที่เลิงน้ำจั้น เพราะอยากพัฒนาพื้นที่เลิงน้ำจั้นซึ่งเป็นพื้นที่ของเทศบาล โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 จะย้ายสำนักงานเทศบาลมาอยู่ที่เลิงน้ำจั้น เพราะสำนักงานเทศบาลเดิมค่อนข้างเล็ก และมีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง จากสมัยก่อนที่มีประชากรประมาณหนึ่งหมื่นคน และปัจจุบันมีประชากรห้าหมื่นคน ทำให้ความแออัดที่จะเข้าไปใช้บริการที่เทศบาลค่อนข้างมีปัญหา และจะรวมศูนย์บริการประชาชนแบบ one stop service ได้แก่ การไฟฟ้า, การประปา, โทรศัพท์, อินเทอร์เน็ต, ธนาคาร และส่วนที่ 2 จะพัฒนาพื้นที่เลิงน้ำจั่นซึ่งอยู่ติดกับห้วยคะคาง ให้เป็นสวนสุขภาพ และมีสถาปัตยกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของเมืองมหาสารคาม และผลักดันให้เป็น Landmark ของเมือง, ความปลอดภัย ในด้านต่าง ๆ เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด ดังนั้น เราจะต้องป้องกันความปลอดภัยให้กับลูกหลานของเรา ให้ผู้ปกครองรู้สึกถึงความเป็นอยู่ของลูกหลานตัวเองว่า เมืองมหาสารคามมีความปลอดภัย จุดไหนที่มีความล่อแหลมหรือมีความเสี่ยง ก็จะเพิ่มการควบคลุมดูแลผ่านระบบ CCTV อยากจะทำให้เมืองมหาสารคามให้มีความปลอดภัย
เรื่องขยะ จะมีระบบจัดการหลักๆ คือ ทำให้เมืองปลอดถังขยะ แยกขยะเปียกและแห้ง เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะ แยกขยะ สร้างมูลค่าให้กับขยะ ให้เกินประโยชน์สูงสุด เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน, ยกระดับตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม และก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้า ปลีก-ส่ง อาหารปลอดภัยแห่งใหม่ของภูมิภาค โดยจะมีการจัดหมวดหมู่อาหาร ประเภทเดียวกันเอาไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวกของผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงมีระบบการจราจร และจะเพิ่มช่องทางตลาดสดออนไลน์อีกหนึ่งช่องทางเพื่อส่งเสริมการขาย, ดูแลผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพและสาธารณสุข โดยการยับยั้งและป้องกันการเกิดโรค โดยใช้ application และวิถีชีวิตในการดูแลสุขภาพ เพื่อผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรง ลดปัญหาให้ภาครัฐ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ลดความเสี่ยงและลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือโรคกลุ่ม NCDs ลดลง 10% ต่อปี และในส่วนของด้านการศึกษา โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความเลื่อมล้ำเพื่อยกระดับการศึกษา โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับประถมวัยเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยและพร้อมที่จะเรียนรู้พัฒนาตนเองก่อนเข้าวัยเรียน นอกจากนี้โรงเรียนเทศบาลทั้ง 7 แห่ง จะส่งเสริมให้มีการเรียน 2 ภาษา โดยมีการเน้นภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานให้เด็ก และมีภาษาที่ 3 เป็นoptional, เพิ่มหลักสูตรทักษะการเอาตัวรอด, การสร้างเถ้าแก่น้อย ส่งเสริมการค้าขายให้กับเยาวชนในชุมชน รวมถึงส่งเสริมด้านกีฬาให้กับเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสาคาม และผลักดันให้มีโรงเรียนกีฬา 1 ใน 7 โรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม พัฒนาทักษะความเป็นเลิศด้านกีฬาให้เกิดเป็นอาชีพได้.
คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
-
เห็นด้วย
0%
-
ไม่เห็นด้วย
0%