5 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจากสถานการณ์การมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในจังหวัดมหาสารคาม และเกิดการแพร่ระบาดต่อบุคลใกล้ชิดอย่างรวดเร็ว ทีมเฉพาะกิจสมาคมชาวจังหวัดมหาสารคาม จิตอาสาสู้ด้วยใจพร้อมทีมงาน กว่า 10 ชีวิต ของจังหวัดมหาสารคาม ที่มีความเสียสละทั้งกายและใจ เพื่ออุทิศให้แก่สังคม เป็นผู้ซึ่งยอมเสียสละเวลาส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆทั้งสิ้น ได้ร่วมแรงร่วมใจอาสาลงมาช่วยกู้วิกฤตครั้งนี้กันอย่างเต็มที่ และทำสิ่งดี ๆ ร่วมกันเพื่อให้ทุกคนอยู่รอด และผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้
นายสุพัฒน์ ราชวงศ์ หัวหน้าทีมเฉพาะกิจสมาคมชาวจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า ทีมงานฉีดพ่นฆ่าเชื้อเฉพาะกิจ ซึ่งจัดตั้งโดยสมาคมชาวจังหวัดมหาสารคามร่วมกับทีมงานจิตอาสาในพื้นที่ ได้ออกบริการชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อยับยั้งและป้องกันการแพร่เชื้อ โควิด-19 โดยดำเนินการฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีของสมาคมชาวจังหวัดมหาสารคาม ทำการฉีดพ่น สถานที่ อาคาร ห้องประชุม รวมทั้งจุดที่ใช้เป็นที่รองรับ การตรวจคัดกรอง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มาใช้บริการ
- สลด!! ลูกสาว ส.ว.ดัง ป่วยซึมเศร้าใช้ปืนไทยประดิษฐ์ปลิดชีพตัวเองในห้องน้ำบ้านพัก
- “ยิ่งยง” อ่วม ศาลสั่งคุก 2 ปี ปรับ 50,000 บาท คดีโฆษณาถั่งเช่า
- “ดีเจมะตูม” เปิดใจไลฟ์สดไอจี ยอมรับดื่มเหล้าในห้องของโรงแรมจริง ทำให้เกิดการแพร่เชื้อ
โดยได้ออกตระเวนบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้มีผู้ขอมารับบริการกว่า 90 แห่งแล้ว โดยเริ่มออกบริการทำการฉีดพ่นเชื้อในช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 12.00 น.และช่วงบ่าย เวลา 14.00น. จนเสร็จสิ้นภารกิจ ด้วยขั้นตอนและกรรมวิธีรูปแบบการฉีดพ่นฆ่าเชื้อตามแนวทาง ของ SCOT อย่างเข้มงวด พร้อมกันนี้ยังได้ทำการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิด-19 ให้กับ ประชาชน พ่อค้า แม่ค้า ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถโทรสอบถาม นัดหมาย ทีมเฉพาะกิจฯเข้าให้บริการได้ ที่ สมาคมชาวจังหวัดมหาสารคาม โทร . 043 -721866 หรือ โทร.084-2524625
ด้านนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม รายงานสถานการณ์กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 จังหวัดมหาสารคาม ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังอยู่ที่ 18 ราย โดยเป็นคลัสเตอร์ในวงโต๊ะแชร์จำนวน 17 ราย
โดยผู้ป่วยรายล่าสุดเป็นแพทย์คลินิกเอกชน โดยกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง แยกเป็นสมาชิกในครอบครัว 6 ราย ผู้มาใช้บริการคลินิกไตเทียม 89 ราย ผู้มาใช้บริการคลินิกส่วนตัว 36 ราย ผู้มาจากสถานที่ที่เกี่ยวข้องตามไทม์ไลน์ 1 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำที่เป็นผู้มาใช้บริการในคลินิกไตเทียม 4 ราย ผู้มาจากสถานที่ที่เกี่ยวข้องตามไทม์ไลน์ 4 ราย รวม 140 ราย ตรวจไม่พบเชื้อ จำนวน 137 ราย รอผลตรวจ 3 ราย
เรื่องโดย เอนก กรแจ่ม | ภาพโดย เอนก กรแจ่ม