หลังจากเทรนทวิตเตอร์ขึ้นอันดับที่หนึ่ง ของวันที่ 12 ก.พ.64 มีการติดแฮชแทค #มมสห่วยแตก มีการทวิตไปกว่า 89.3k ทวิต ซึ่งเป็นประเด็นดราม่า หลังจากที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และการจัดการเรียนการสอบแบบออนไลน์ และในห้องเรียน (ฉบับที่ 19)โดยในสาระสำคัญในเนื้อหา ว่า ให้บุคลากรกลับเข้ามาทำงานตามปกติ อาจารย์ที่มีรายวิชาจำเป็นต้องสอนในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการ สามารถเข้ามาปฏิบัติงานได้ ให้คณะหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนสามารถออกแบบวิธีจัดการเรียนการสอน โดยยึดแนวทางการเรียนแบบออนไลน์ และแบบในห้องเรียน ให้มีสัดส่วน 50:50 เพื่อลดความแออัดของจำนวนนิสิตในคณะและหน่วยงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และในประกาศ ข้อ 8 เพื่อให้นิสิตมีระยะเวลาการเรียนในห้องเรียนและกิจกรรมด้านการเรียนมากขึ้น มหาวิทยาลัยจึงขยายเวลาการเรียนการสอนไปจนถึงวันที่ 18 เมษายน 2564 และการสอบปลายภาคของภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ไปเป็นวันที่ 19 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งภายหลังประกาศดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนิสิตเป็นวงกว้าง จนมีการติดแฮชแทค #มมสห่วยแตก ขึ้นติดเทรนทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง โดยหลายคนมองว่า ประกาศดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งยังคงเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม อีกทั้ง ต.ท่าขอนยาง และ ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย ซึ่งเป็นพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ ทางจังหวัดได้ประกาศให้เป็นเป็นพื้นที่บังคับใช้มาตรการควบคุมสูงสุด ทำให้นิสิตมองว่าทางมหาวิทยาลัยยังไม่ควรจัดให้มีการเรียนการสอนตามปกติ และบางส่วนอยากให้ทางมหาวิทยาลัยฯ พิจารณาคืนค่าเทอมให้กับนิสิต 30-50% เนื่องจากไม่ได้จัดให้มีการเรียนการสอนมหาวิทยาลัย
- “กมล เชียงวงค์”ผวจ.พะเยา ถึงแก่อนิจกรรม
- อธิบดีเรือนจำแจงกรณีเพนกวินโพสเฟสบุ๊ก
- ราษฎรขอนแก่นปลดธงชาติแล้วนำป้ายผ้าปฏิรูปสถาบันขึ้นสู่ยอดเสา
ต่อมา องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สโมสรนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กลุ่มนิสิตพรรคมอน้ำชี สภานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กลุ่มนิสิตพรรคชาวดิน, และองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยและขอให้มหาวิทยาลัยทบทวนประกาศดังกล่าวโดยในแถลงการณ์ขององค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไม่เห็นด้วยกับการขยายเวลาการเรียนการสอนไปจนถึงเดือนเมษายนนั้น ไม่สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อนิสิตที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาและนิสิตออกฝึกประสบการณ์ ยังจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับนิสิต จึงขอให้ทางมหาวิทยาลัยฯ ทบทวนประกาศดังกล่าวโดยเร่งด่วน ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564
ล่าสุด รองศาสตราจารย์ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ออกประกาศ ชีแจง (ฉนับที่ 20) หลังจากที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ออกประกาศ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ เชื้อโรค COVID-19 ฉบับที่ 19 นั้น พบว่ามีประกาศบางข้อส่งผลกระทบต่อการสำเร็จการศึกษา การสมัครงาน และการสอบแข่งขันเพื่อเข้าทำงาน เเละเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้หารือร่วมกับองค์กรนิสิต และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงออกประกาศมาตรการ การเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และการเรียนแบบออนไลน์ โดยให้ถือปฏิบัติตาม ประกาศนี้อย่างเคร่งครัด ดังนี้ 1. ให้ยกเลิกประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อ โรค COVID-19 ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 2. ให้บุคลากรสายสนับสนุนกลับเข้ามาทำงานในสถานที่ปฏิบัติงานตามปกติ คณาจารย์ท่านใด ประสงค์หรือมีการสอนออนไลน์อยู่แล้ว สามารถปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัยของตนเองได้และต้องเป็นไปตาม ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัยของตนเอง (Work From Home) ตามประกาศมหาวิทยาลัย มหาสารคาม เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 และการปฏิบัติงาน ณ สถานที่พัก อาศัยของตนเอง (Work From Home) ฉบับที่ 18 อย่างเคร่งครัด 3. ให้คณะ หน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์2564 โดยการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์ 4. นิสิตระดับปริญญาตรีที่ต้องดำเนินโครงงานวิจัยเพื่อประกอบการสำเร็จการศึกษา หรือนิสิตระดับ บัณฑิตศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2563 ให้สามารถปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการได้และต้อง อยู่ภายใต้การกำกับของคณะ หน่วยงาน อย่างเคร่งครัด 5. สำหรับรายวิชาปฏิบัติการของหลักสูตรวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในหน่วยงานอื่น สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานก่อน และต้องปฏิบัติตาม มาตรฐานการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด 6. คณะ หน่วยงานที่มีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ ตามความเหมาะสมและต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด 7. การสอบภาคปลายของภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ให้ยึดตามปฏิทินการศึกษาเดิม คือ ให้จัดสอบภาคปลายในช่วง วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 8. ให้ชะลอการจัดกิจกรรมของนิสิตและบุคลากรที่มีลักษณะการรวมกลุ่มกันจำนวนมากทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น กิจกรรมที่ได้รับอนุมัติและดำเนินการไป แล้วบางส่วนให้อนุโลมเบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็น 9. ให้โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้งฝ่ายประถมและมัธยมดำเนินตามการประกาศของ โรงเรียนเป็นการเฉพาะ โดยให้ยึดแนวทางของมหาวิทยาลัยและจังหวัดเป็นหลัก 10. คณาจารย์และบุคลากรของโรงพยาบาลสุทธาเวช ให้ปฏิบัติตามประกาศเฉพาะของคณะและ โรงพยาบาล 11. ให้นิสิต บุคลากร และคณาจารย์ ติดตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคามอย่างใกล้ชิด หากมี การเปลี่ยนแปลงจะประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
เรื่องโดย เอนก กระเแจ่ม | ภาพโดย เอนก กระเแจ่ม