จ.มหาสารคามเผยความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชน จ.มหาสารคาม 20 โครงการ ซึ่งมีการศึกษาความเหมาะสมออกแบบโครงการ รายละเอียด และทำประชาคมเรียงลำดับความสำคัญแล้ว โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กว่า 760 ล้านบาท
นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จ.มหาสารคาม อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เปิดเผยว่า ในปี 2561 เทศบาลเมืองมหาสารคามมีการวางแผนงานเพื่อพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและเพื่อปรับภูมิทัศน์เมือง สร้างต้นทุนให้กับเมือง โดยได้หารือกับทุกภาคส่วน อาทิ หอการค้าจังหวัด สมาคมชาวมหาสารคาม เป็นต้น
โดยสมัชชาพลเมืองทำประชาคมส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานของทางเทศบาลในรูปของคณะกรรมการสมัชชาพลเมือง
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วนที่มาร่วมทำงานด้วยกัน ในโครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนจังหวัดมหาสารคามรวมทั้งสิ้น 20 โครงการ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 760 ล้านบาท ประกอบไปด้วย
1.โครงการปรับปรุงผิวจราจร ทางเท้าและภูมิทัศน์ ถ.นครสวรรค์ งบฯ 108 ล้านบาท ระยะทาง 9 กม. 2.โครงการปรับปรุงผิวจราจร ทางเท้าและภูมิทัศน์ ถ.ผดุงวิถี งบฯ 45 ล้านบาท ระยะทาง 3.750 กม. 3.โครงการก่อสร้างซุ้มประตูเมือง 4 จุด
ประกอบด้วยบริเวณหน้า ม.มหาสารคาม (ในเมือง) บริเวณแยกแก่งเลิงจาน บริเวณแยกวังยาว และบริเวณแยกบ้านหม้อ งบฯดำเนินการ 34 ล้านบาท 4.โครงการสร้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ถ.นครสวรรค์ ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า งบฯ 24 ล้านบาท
5.โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์เทศบาลเมืองมหาสารคาม งบฯ 167 ล้านบาท 6.โครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบระบายน้ำ ถ.ผดุงวิถี งบฯ 45 ล้านบาท 7.โครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบระบายน้ำ ถ.นครสวรรค์ 108 ล้านบาท ระยะทาง 9 กม. 8.โครงการปรับปรุงผิวจราจร
ทางเท้าและภูมิทัศน์ ถ.ฉิมพลีเจริญ งบฯ 14 ล้านบาท ระยะทาง2.14 กม. 9.โครงการปรับปรุงผิวจราจร ทางเท้าและภูมิทัศน์ ถ.มหาชัยดำริห์ งบฯ 14 ล้านบาท ระยะทาง 2 กม. 10.โครงการปรับปรุงผิวจราจร ทางเท้าและภูมิทัศน์ ถ.มหาสารคาม-วาปีปทุม งบฯ 22 ล้านบาท ระยะทาง 1.3 กม. 11.โครงการปรับปรุงผิวจราจร ทางเท้าและภูมิทัศน์ ถ.ริมคลองสมถวิล งบฯ 9 ล้านบาท ระยะทาง 1.39 กม.
12.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ งบฯ 15 ล้านบาท พื้นที่ 12.98 ไร่ 13.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะหนองข่า งบฯ 43 ล้านบาท พื้นที่ 26.38 ไร่ 14.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะเลิงน้ำจั้น งบฯ 15 ล้านบาท พื้นที่ 9.74 ไร่
15.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะประมวลสุข งบฯ 5 ล้านบาท พื้นที่ 1.94 ไร่ 16.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะสมถวิล งบฯ 3.5 ล้านบาท พื้นที่ 2.22 ไร่ 17.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะสวนศรีสวัสดิ์ งบฯ 3.5 ล้านบาท พื้นที่ 2.22 ไร่ 18.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะหนองกระทุ่ม งบฯ 10 ล้านบาท พื้นที่ 8.64 ไร่ 19.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะบ้านส่องนางใย งบฯ 11 ล้านบาท พื้นที่ 4.78 ไร่
20.โครงการปรับปรุงสวนสาธารณะบ้านแมด งบฯ 7 ล้านบาท เนื้อที่ 2.29 ไร่ และ 21.โครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณแก่งเลิงจาน ปรับปรุงไฟฟ้าและแสงสว่างในเส้นทางจักรยานยนต์ งานประติมากรรม และภูมิทัศน์ งบฯ 12 ล้านบาท
นายกิตติศักดิ์กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2564 -2565 เทศบาลเมืองมหาสารคามดำเนินการโครงการพัฒนาเขตพื้นที่ไปแล้วหลายโครงการ อาทิ โครงการปรับปรุงผิวจราจร ทางเท้า และภูมิทัศน์ และจะมีโครงการก่อสร้างซุ้มประตูเมืองบริเวณหน้า ม.มหาสารคาม (ในเมือง)
พร้อมการปรับปรุงผิวจราจร ทางเท้า และภูมิทัศน์ วางท่อระบายน้ำโดยรอบ รวมทั้งติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง รวมงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท และในปี 2565 จะเริ่มดำเนินโครงการปรับปรุงสวนสาธารณะ หรือดำเนินการเรียงลำดับความสำคัญตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมัชชาพลเมือง
“มหาสารคามได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการศึกษา เพราะมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาล
แต่ละปีจะมีผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก หรือเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามหลายหมื่นคน เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นรวดเร็วจึงเกิดปัญหาตามมามากมาย
อาทิ ขยะ น้ำเสียจากชุมชน การจราจร เป็นต้น ฉะนั้นจึงมีโครงการข้างต้นเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน”
ด้านนายณรงค์ เหล่าสุวรรณ ประธานหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า โครงการเหล่านี้นอกจากจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ยังเป็นการปรับภูมิทัศน์ให้เมืองให้เกิดความสวยงาม สร้างภาพลักษณ์ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ผู้คนก็จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น
ทั้งเข้ามาเรียน มาทำงาน เข้ามาท่องเที่ยว แล้วการลงทุนทางอ้อมก็จะตามมา หากเมืองสารคามมีสาธารณูปโภค มีภูมิทัศน์ที่สวยงามน่าอยู่ จะสร้างโครงการเชิงบวกต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น เพราะจะมีเม็ดเงินเข้ามาในพื้นที่ ทำให้เศรษฐกิจเมืองมหาสารคามเติบโตยิ่งขึ้น