ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ(เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ) หมู่ 7 บ้านโนนสำราญ ตำบลวังไชย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม การพัฒนาสายพันธุ์แอปเปิ้ลสายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทยซึ่งการเปิดตัวในครั้งนี้เพื่อเพื่อเปิดอาคารวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเห็ดถังเช่า (เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช) หลังใหม่ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และเป็นสำนักงานวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรไทย สร้างรากฐานที่ยั่งยืน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชนได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ได้พืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ดี แข็งแรง ปลอดเชื้อ สู่เกษตรกรได้อย่างสมบูรณ์ มีคุณภาพและทำการผลิตพืชให้ได้ต้นพืชจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผอ.สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 4 จ.ขอนแก่นเกษตรจังหวัดมหาสารคาม และประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืชร่วมกันเปิดอาคาร
ทั้งนี้ การพัฒนาสายพันธุ์แอปเปิ้ลสายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทย ที่สามารถให้ผลผลิตและเจริญเติบโตในสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของไทยได้โดยการพัฒนาสายพันธุ์แอปเปิ้ลพันธุ์ฟูจิ ให้สามารถปลูกในพื้นที่เขตร้อนได้ ตั้งเป้าปี 2565 ขยายพันธุ์ได้ 500,000 ต้น รองรับความต้องการของประชาชน
ส.ต.อ.อนุวัติ อินปลัด ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเห็ดถังเช่า บ้านโนนสำราญ (เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช) เปิดเผยว่า ที่มาที่ไปของการพัฒนาสายพันธุ์แอปเปิ้ลพันธุ์ฟูจิ ตนมองว่าประเทศไทยมีผลไม้หลากหลายที่แต่ละปีมีการส่งออกไปเป็นจำนวนมาก ด้วยเอกลักษณ์ของรสชาติที่โดดเด่น ในขณะเดียวกันก็มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน จากสถิติประเทศไทยนำเข้าแอปเปิ้ล แต่ละปีอยู่ที่ 7,000 ล้านบาท พันธุ์ที่นำเข้ามากที่สุดคือ พันธุ์ฟูจิ ทางกลุ่มจึงเลือกที่จะพัฒนาต่อยอดสายพันธุ์แอปเปิ้ลฟูจิ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการพัฒนาสายพันธุ์ให้เกิดประสิทธิภาพ
โดยการนำต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว นำยอดพันธุ์ที่สามารถปลูกในประเทศไทยได้ มาพัฒนาต่อยอด โดยตั้งเป้าให้ผลผลิตภายใน 3 ปี ถึง 3 ปีครึ่ง ตั้งเป้าหมายในปี 2565 จะผลิตต้นแอปเปิ้ลให้ออกสู่ตลาดจำนวน 500,000 ต้น เป็นการสร้างมูลค่าให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยขณะนี้ได้สนับสนุนให้สมาชิกปลูกคนละ 10 ต้น ราคาจำหน่ายตอนนี้อยู่ที่ต้นละ 1,500 บาท สำหรับต้นพันธุ์ที่เหมาะกับการปลูกลงดิน ควรจะอยู่ที่ขนาดความสูง 20 เซนติเมตร สำหรับตลาดตอนนี้มองว่ายังไปได้อีกไกล เพราะในภูมิภาคอาเซียนยังไม่มีการปลูกที่แพร่หลาย คิดว่ายังสามารถเติบโตได้กว่า 100 เท่า การผลิตพืชให้ได้ต้นพืชจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว