“การทำอะไรเป็นเวลาตรงไปตรงมา เป็นการสร้างสัจจบารมี ถ้าใครมีสัจจะความจริงใจ มีสัจจบารมี ใกล้ต่อการ ตรัสรู้ถ้าขาดสัจจะความจริงใจแล้วยังห่างพระพุทธเจ้า” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
“หลวงปู่สีดา ปัญญาธโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดโสมนัสประดิษฐ์ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม คณะศิษย์ร่วมจัดสร้างเหรียญรูปเหมือน รุ่นปี พ.ศ.2553 เนื่องในวาระสิริอายุ 90 ปี เนื้อทองแดง ประมาณ 2,000 เหรียญ
ลักษณะเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหน้าตรง ด้านขวาเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนไปด้านซ้ายเขียนคำว่า “วัดโสมนัสประดิษฐ์ จ.มหาสารคาม” ด้านล่างเขียนว่า “พระมงคลสารคุณ หลวงปู่สีดา” ส่วนด้านหลังเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ ใต้ยันต์เขียนเลขไทย “๒๕๕๓” ขอบโค้งด้านล่างใต้ยันต์เขียนคำ “ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ พรรษา”
ปี พ.ศ.2537 “หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ” วัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นประธานนำเศียรพระพุทธรูปเนื้อหินทรายสมัยทวารวดี ประดิษฐานเป็นองค์พระใหญ่ ชื่อ “หลวงพ่อเทพนิมิต” สมบูรณ์แล้ว กำหนดพุทธาภิเษก เบิกเนตรและสร้างวัตถุมงคลรุ่นมหาโชคมหาลาภ วันที่ 7-9 เม.ย. 2538 รวม 3 วัน
ลักษณะเป็นเหรียญทรงกลม มีหูห่วง ไม่มีขอบ ด้านหน้าเหรียญนูนตรงกลางมีรูปเหมือน มีอักขระขอมที่สังฆาฏิ “อุ พุท โธ ยะ” ด้านขวาขององค์พระมีรูปนูนพระสังกัจจายน์ ด้านซ้ายมีรูปนูนพระสีวลี ใต้รูป หลวงพ่อมีอักษรไทยเขียนคำว่า “หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก”
ด้านหลังเหรียญ ลักษณะเหรียญคล้ายแอ่งกระทะตรงกลางเป็นยันต์เต่าเรือน รอบข้างยันต์มีรูปนางกวัก, ยันต์ครู และพระปิดตา เป็นต้น ด้านล่างมีอักขระขอมกำกับ และอักษรไทยเขียนคำว่า “อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์” พร้อมตอกโค้ด “อุ” เป็นภาษาขอม
วัตถุมงคลวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ที่ได้รับความนิยมสูงนอกจาก “เหรียญพระปฐมเจดีย์รุ่นแรก ปี 2465” อีกรุ่นหนึ่งที่นิยมคือ “เหรียญหล่อพระคันธารราษฎร์ใบเสมา” สร้างโดย “พระธรรมวโรดม” หรือ “หลวงพ่อโชติ ธัมมปัชโชติโก” อดีตเจ้าอาวาสสร้างโดยใช้กรรมวิธีการหล่อแบบโบราณ ด้วยเนื้อโลหะผสม รูปทรงเสมาคว่ำ แกะขอบเป็นลายกนกทั้งด้านหน้าและหลัง
ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธปฏิมากร ประทับยืนเหนืออาสนะรองรับรูปบัว แสดงปางขอฝน พระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระวรกาย หงายฝ่าพระหัตถ์ในกิริยารองรับ น้ำฝนด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์อักขระขอมตัวนูน
อริยะ เผดียงธรรม