ฉลองปีใหม่ — วันที่ 13 ธันวาคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศบค.ครั้งที่ 20/2564 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ ที่ประชุมศบค.ได้มีมติให้ประชาชนสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ในค่ำคืนเคาท์ดาวน์วันที่ 31 ธันวาคมนี้ ต่อเนื่องได้ถึงเวลา 01.00 น.ของวันที่ 1 มกราคม 2565
สำหรับพื้นที่ควบคุม สามารถบริโภคสุราในร้านอาหารได้เฉพาะวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึง 1 มกราคม 2565 ไม่เกิน 01.00 น. และเฉพาะร้านที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทสะดวกเท่านั้น ทั้งนี้ ให้เคร่งครัดตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่สาธารณสุขกำหนด (COVID Free Setting)
นอกจากนี้ ที่ประชุมศบค.ยังได้มีมติเห็นชอบปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร มีผลตั้งแต่ 16 ธันวาคม เป็นต้นไป ดังนี้
-ยกเลิกพื้นที่ควบคุมสูงสุดจาก 23 จังหวัด เหลือ 0 จังหวัด
-เพิ่มพื้นที่ควบคุมจาก 23 จังหวัด เป็น 39 จังหวัด
-เพิ่มพื้นที่เฝ้าระวังสูงจาก 24 จังหวัด เป็น 30 จังหวัด
-เพิ่มพื้นที่สีฟ้า (นำร่องการท่องเที่ยว) จาก 7 จังหวัด เป็น 8 จังหวัด
พื้นที่ควบคุม 39 จังหวัด
ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชุมพร เชียงใหม่ เชียงราย ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน สตูล สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี อุดรธานี และอุบลราชธานี
พื้นที่เฝ้าระวังสูง 30 จังหวัด
กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ชัยนาท ชัยภูมิ นครปฐม นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ พิจิตร พะเยา แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุโขทัย สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อ่างทอง และอำนาจเจริญ
พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 8 จังหวัด
กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา ภูเก็ต (จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่ 18 จังหวัด)
ทั้งนี้ พื้นที่นำร่องท่องเที่ยวจะใช้มาตรการเช่นเดียวกับพื้นที่เฝ้าระวัง
ด้านมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับทุกระดับพื้นที่สถานการณ์ฯ กิจกรรม/กิจการ -Work From Home
-การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม (กรณีเกินจำนวนให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.พิจารณา สถานศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กพิเศษ สถานที่ให้การดูแล หรือสถานสงเคราะห์อื่นที่เป็นการจัดสวัสดิการให้แก่เด็ก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ห้องสมุด บ้านหนังสือ พิพิธภัณฑ์ทุกประเภท ศูนย์การเรียนรู้ หรือสถานที่ที่มีลักษณะคล้ายกัน ร้านอาหาร ทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร
ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัดศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ รวมถึงสถานที่ลักษณะเดียวกับในห้างสรรพสินค้า และโรงแรม ร้านเสริมสวย ร้านสถานเสริมความงาม ร้านสัก สถานบริหารเพื่อสุขภาพ นวด สปา สถานที่เล่นกีฬา สนามกีฬา ลานกีฬา สระน้ำ หรือ สถานที่จัดแข่งขันกีฬา โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การแสดงพื้นบ้าน หรือสถานที่ลักษณะเดียวกัน ให้คงใช้มาตรการตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 37)
ส่วนกิจกรรม/กิจการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร สามารถพิจารณาเปิดปิดได้ตามสถานการณ์ของพื้นที่ กรณีสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงจะมีการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร เพื่อเหมาะสมกับมาตรการที่กำหนดไว้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“หมอมนูญ” ชี้ โอมิครอน กำลังแพร่ระบาดในไทยในไม่ช้า หวั่น ยอดผู้ติดเชื้อโควิดพุ่งหลัง ปีใหม่2565
สื่อสหรัฐฯ เผย พบโควิดโอไมครอนในน้ำเสีย ที่เมอร์เซด หลังแอฟริกาใต้รายงานWHO 1 วัน
“ญี่ปุ่น” ยืนยัน พบผู้ติดเชื้อโควิด “โอมิครอน” เพิ่ม 8 ราย ยอดรวมทั้งหมด 12 ราย